ให้การสนับสนุน

มาลาบูกิ เป็นผู้สนับสนุนหลัก เครือข่ายลูกหนี้ 4 ภาค

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กว่าจะมาเป็น มาลาบูกิ ได้

บุคคลสำคัญ ที่ประสิทธิประสาท ความรู้ และจุดประกายความฝัน
กลายมาเป็น แบรนด์ ไทย ไปนอกได้ ในปัจจุบัน
ท่านแรก อาจารย์ปัญญา ปวงนิยม

คัดลอกจาก นสพ. บางกอกทูเดย์ วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551
บทสัมภาษณ์ CEO Bangkok Today

ต่อจาก อยู่กับยา มา 60 ปี กว่า.. ตามด้วย เภสัชศาสตร์แผนไทย

ภูมิปัญญาดีทอกซ์-ไทย
โดย ภก.ปัญญา ปวงนิยม



เป็นเรื่องที่พวกเราไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเห็นกันบ่อยนักในสังคมไทยปัจจุบัน
สำหรับคนๆ หนึ่งที่มีความชอบ สนใจ และคลุกคลีอยู่กับ “การแพทย์แผนไทย”
นับเวลารวมกว่า 50 ปี

ซึ่งบุคคลที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ คือ “ภก.ปัญญา ปวงนิยม” ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดัน
มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ (จีเอ็มพี) รวมทั้งผู้ผลิตเครื่องสำอาง ด้วย
อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร
หน่วยปฏิบัติการที่ 1 โรงงานต้นแบบศูนย์เทคโนโลยี ชีวภาพ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

โดยวันนี้ท่านได้เสียสละเวลามาพูดคุยถึงเรื่อง “การแพทย์แผนไทย” เพื่อเป็นกำลัง
ใจให้กับพวกเราคนรุ่นหลังที่รัก สนใจ และกำลังศึกษาหาความรู้ หรือมุ่งมั่นที่จะทำงาน
ด้านเภสัชศาสตร์แผนไทย
ย้อนกลับไปเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว “ภก.ปัญญา” เริ่มมีความสนใจในกิจการการประกอบ
“โรคศิลปะ” ของบิดา ตอนนั้นท่านมีอายุประมาณ 12 ปี เป็นผู้ช่วยบิดาเตรียมยามาชั่ง มีใบ
แก่น ดอก ราก ผล ซึ่งไม่มีความผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย จนเมื่อเรียนจบก็ได้ไปศึกษาต่อ
ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในคณะเภสัชศาสตร์ (เอกวิชา เภสัชอุตสาหกรรม) เป็นเวลา 5 ปี
แล้วก็ได้เข้าทำงานในบริษัท เฮิกส์ฟามาซูติกัลอินดรัสตรีย์ จำกัด บริษัทยาข้ามชาติเยอรมนี
ซึ่งตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ได้คลุกคลีอยู่กับโรงงานผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยา ทั้งยาแผนปัจจุบันและ
ยาแผนไทย รวมถึงอุตสาหกรรมด้านเครื่องสำอาง มาจนถึงปัจจุบัน
เรียกว่าเป็น “กูรู” ด้านนี้เลยทีเดียว

จากประสบการณ์และการศึกษามาตลอด 50 กว่าปี ถือได้ว่าองค์ความรู้ของท่านอาจารย์
ได้มีส่วนช่วยให้วงการเภสัชศาสตร์แผนไทย ตลอดจนการแพทย์แผนไทย ได้รับประโยชน์อย่าง
มากมาย อีกทั้งยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
โดยท่านอาจารย์ได้จำแนกสรุปไว้เป็นสาขาต่างๆ สำหรับผู้สนใจ ไว้ดังนี้

1. เทคนิคการผลิตยาแผนปัจจุบัน
2. เทคนิคการผลิตยาแผนไทย
3. เทคนิคการผลิตเครื่องสำอาง
4. เทคนิคการผลิตอาหาร
5. ออกแบบโรงงานยา อาหาร ตามหลัก จีเอ็มพี
6. การบริหารงานในโรงงานสายการผลิต
7. เขียนหนังสือ จีเอ็มพี ให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการขอขึ้นทะเบียน จีเอ็มพี
8. การพัฒนาตำรับยา
9. ออกแบบเครื่องจักรรองรับสายการผลิต

ถึงตอนนี้หลายคนยังสงสัยว่า “จีเอ็มพี” คืออะไร?!!
ซึ่งท่านอาจารย์ก็ให้คำตอบว่า “จีเอ็มพี” ที่ว่านี้ คือ มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมด้าน ต่างๆ
เช่น โรงงานเครื่องสำอาง ในความดูแลของ อย. ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของกระบวนการ
และเครื่องจักรการผลิตเครื่องสำอาง หรือที่เรียกกันว่าโรงงานที่มีจีเอ็มพีนั่นเอง

สำหรับงานที่ท่านอาจารย์กำลังศึกษาค้นคว้าและวิจัยอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้
ก็เป็นแบบทั้งที่ปรึกษาโครงการหรือเป็นแบบทำวิจัยต่อยอดให้กับหน่วยงานต่างๆ
นอกจากงานเกี่ยวกับ “สมุนไพร” และ สารสกัดจากพืชสมุนไพร ที่ช่วยใน ด้านสุขภาพ แล้ว
ท่านอาจารย์ “ปัญญา” ก็แอบแง้มมาด้วยว่า ตอนนี้ก็กำลังพัฒนางานทาง ด้านความงาม อีกด้วย

“อันไหนที่ทำเสร็จแล้วผมก็บอกได้อยู่ ไม่ได้เป็นความลับอะไร เช่น น้ำสกัดเข้มข้นจาก
มังคุด ตรา แซนโทน อันนี้ของผมเอง กันเองโอสถ หรือสารสกัดจากเซลล์แรกเริ่มของชมพู่
มะเหมี่ยวเผือก และสารสกัดที่จะนำมาใช้ผลิตภัณฑ์ความงามประเภทต่างๆ ที่ทำให้กับ
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชื่อ มาลาบูกิ อันนี้เป็นทั้งโครงการความร่วมมือกับห้องแล็บอื่นๆ
และรับผลิตต่อยอด ตามการครีเอตและแนวคิดหลักๆ”
อาจารย์ “ปัญญา” กล่าว

ท่านอาจารย์ยังบอกอีกว่า แต่ละโครงการย่อมต้องมีการคัดเลือกและคัดตามหลักเกณฑ์
อีกทีหนึ่ง เพราะตัวท่านต้องการ “พัฒนา” เกี่ยวกับด้านสมุนไพรไทยให้เป็นที่ยอมรับ
ทั้งใน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ซึ่งง่ายๆ เลยก็คือ ต้องเป็น “พืชพันธุ์”
ในเขตดินแดน “สุวรรณภูมิ” หรืออินโดจีน เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งของอาหารและสรรพยา
ดังเป็นที่ทราบดีของปราชญ์ทางการแพทย์และโภชนาการ กันมาแต่โบราณกาล
โดยเฉพาะของประเทศไทยเรา ที่มีพืชพันธุ์สมุนไพรอย่างอุดมสมบูรณ์
แต่ยังไม่มี การส่งเสริมและผลักดันอย่างจริงจัง

อย่าง มาลาบูกิ ก็เป็นของคนไทยเรานี่แหละ ไม่ใช่ชื่อแบรนด์ของต่างชาติอะไร ไทยแท้ๆ เลย ที่สำคัญ คือ เขามีแนวคิดริเริ่มและไปกันได้กับผม แล้วก็มีความน่าเป็นไปได้ในทาง
ปฏิบัติจริงอีกด้วย”
อาจารย์ “ปัญญา” กล่าว

<<< ย้อนกลับ ติดตามผู้มีคุณูปการ ต่อ... เภสัชศาสตร์แผนไทย

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อยู่กับยา มา 60 ปี กว่า..


ตอนที่ 1 ตามด้วย กว่าจะมาเป็น มาลาบูกิ ได้ , เภสัชศาสตร์แผนไทย

ภูมิปัญญาดีทอกซ์-ไทย
โดย ภก.ปัญญา ปวงนิยม
ตอน อยู่กับยามา หกสิบปี กว่า...



■ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2485 ที่จังหวัด
ตราด เป็นบุตรคนที่สองในจำนวนพี่น้อง
11 คน บิดาเป็นหมอโบราณ ชื่อ “หมอเกียง ปวงนิยม” มี
ใบประกอบโรคศิลป สาขาเภสัชและเวชกรรม แผนไทย
บิดาดำเนินกิจการ ขายยา มีร้านค้า ชื่อ “กันเอง
พานิช” มีสถานที่ ผลิตยา ชื่อ “กันเองโอสถ” และใช้
สถานที่เดียวกัน เป็นสถานที่ปรึกษา และรักษาคนไข้
มีตั้งแต่เด็กเล็ก จนถึงผู้ใหญ่
ที่ตั้งของร้านอยู่ในท้องที่ๆ เป็นศูนย์กลางการ
คมนาคมทางน้ำของจังหวัด ที่ท่าเรือจ้าง อำเภอเมือง
จังหวัดตราด สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการค้าขาย
ของจังหวัด มีผู้คนจากอำเภอต่างๆ มาซื้อขายสินค้า
มากมาย และมีเรือสินค้าจากต่างถิ่น เช่น กรุงเทพฯ
เขมร เวียดนาม
ที่ร้านจึงเป็นที่รับซื้อแลกเปลี่ยนเภสัชวัตถุ
สมุนไพร จากป่า เช่น ไม้หอม เทพทาโร ลูกเร่ว
ลูกสำรอง พริกไทย ดีปลี รงทองจากเขมร น้ำมันยาง
โครงกระดูกจากสัตว์ เช่น เสือ หมี กวาง จากชนบท เป็นต้น
บิดา ได้ปรุงยาออกจำหน่ายหลายขนาน ประมาณ 20 ตำรับ
เช่น 1.กลุ่มยาแก้ไขเด็กเล็ก ยาแก้ซางหละ ยากวาดคอเด็ก
ชื่อ ยากวาดคอแสงหมึก, ยาทำลายพิษ ยามหานินแท่งทอง
ยาประสะกระเพา เป็นต้น
2.กลุ่มยาสตรี แก้โรคประจำเดือนไม่ปกติ ชื่อ ยาสตรีฑีฆายุ
ยาเลือดงาม เป็นต้น
3.กลุ่มยา อายุวัฒนะ ชื่อยา พิฆาตโรคา เป็นยาจยันประจำยุกต์
ยาที่จำหน่ายได้มาก คือ
4.กลุ่มยารักษา ริดสีดวง ยาโรยแกง ใช้โรยยาลงในอาหาร
แทนเครื่องแกงแต่แฝงเป็นยา ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร
เมื่อถ่ายอุจจาระ จะมีเลือดออก ช่วยให้หัวริดสีดวงเหียวแห้ง
หดหายไปอย่าง ชะงัก เลือดหยุด หัวริดสีดวงยุบ และต่อมา
ได้พัฒนาเป็นชนิดเม็ด ปัจจุบันเป็นยาแคปซูล ใช้ชื่อว่า
"ยาเรซิดังส์" "ยาโรซิดวง" และยาบรรเทาริดสีดวงตราช้างสองเศียร
5.กลุ่มยาแก้เส้นสายหย่อนพิการ ชื่อยา ยากระจายเส้น เหมาะสำหรับ
ผู้สูงวัย และอุบัติเหตุ เคล็ดขัดยอก ยาทั้งหมดที่ผลิตได้ขึ้นทะเบียน
ไว้ทั้งหมดกับกระทรวงสาธารณะสุข

ข้อสังเกตุ  การตั้งชื่อยาแผนไทย สามารถตั้งชื่อตามตำราคัมภีร์แผนไทยได้
แต่ต่อมาไม่ให้ตั้งตามคัมภีร์ แผนไทยแล้ว แต่อ้างว่า ใช้ชื่ออวดอ้างสรรพคุณ
และเป็นที่มาของภาษาวิบัติ ทำให้ยาแผนไทยต้องเปลี่ยนชื่อ เป็นภาษาแปลกๆ
แทนที่จะอนุรักษ์ไว้ และการเขียนสรรพคุณก็ไม่สามารถ ระบุได้ เป็นการจำกัดการใช้ยา
ทำให้ยาแผนไทย ถูกตอนการพัฒนาการใช้ยาโดยปริยาย

นอกจากนี้ พี่น้องของอาจารย์ได้มีโอกาส

1.ได้ฝึกเป็นผู้ช่วยหมอ และเทคนิคการขายยา
โดยเฉพาะอาจารย์ปัญญา ซึ่งมีความสนใจกิจการการประกอบโรคศิลปะ มาตั้งแต่เด็ก
ช่วยบิดาตั้งแต่อายุ 12 ขวบ โดยเป็นผู้ช่วยบิดาเตรียมยามาชั่ง
มีใบ แก่น ดอก ราก ผล นอกจากนี้ ยังมีโอกาส

2.ฝึกแปรสภาพของสมุนไพร จากก้อนให้เป็นผง โดยใช้อุปกรณ์ ราง ล้อเหล็ก
และเสาไม้ยึดติดกับล้อเหล็กด้านล่าง ด้านบนใช้ น๊อต ร้อยกับเสากับตงของเพดาน
โดยมีไม้ขนาบกับเสา (ที่ยึดติดกับกึ่งกลางเสา) ใช้แรงงานคน 1 คน
ดันเสาที่มีล้อไปมา เพื่อให้น้ำหนักเสากดลงก้อนสมุนไพร และ
ใช้แรงงาน อีก 1 คน ช่วยเขี่ยก้อนยาให้ล้อบดทับ ทั่วถึงจนละเอียด
แล้วนำผงที่บดได้มาร่อน ผ่านตะแกงที่เป็นตาข่ายชนิดละเอียด
ที่หยาบก็เอามาบดใหม่ ที่ละเอียดก็เก็บสะสมจนหมดครั้งที่ผลิต
(ก่อนบดยา ต้องตากกลางแดดหลายแดดจนกรอบ หน้านต้องเอาไปคั่ว
จนกรอบแห้ง)

3. ฝึกการผลิตยาเม็ด โดยใช้แม่พิมพ์ทองเหลือง กดบนก้อนผงยาที่ผสมน้ำซาวข้าวเจ้าสุก
จับตัวเป็นก้อนเปียกพอเหมาะ และตำรวมกันเป็นก้อนใหญ่ ก้อนเดียว มีผ้าขาวบาง ปิดก้อนยา
ไว้กับก้อนยาแห้ง เมื่ออัดเข้ากับแม่พิมพ์ไปมาจนแน่นเบ้า และดันคันอัดออก
ใส่ถาด สะสมจนเต็มถาดหลวมๆ นำถาดไปผึ่งแดด 2-3 แดด จนแห้ง นอกจากนี้ยังได้

4.ฝึกการเตรียมตัวยาก่อนผสม การสตุ ตัวยา เช่น การสตุสารส้ม (การทำให้ตัวยาบริสุทธิ
โดยใช้ฝาหม้อดินรองรับแล้วใช้ ความร้อนจากเตาถ่านรน) การเก็บกลิ่น ชะมดเช็ด
จากการเลี้ยงสัตว์ เป็นตัวชะมดจริงๆ เพื่อนำมาทำยาหอมแก้ลม เป็นต้น
เมื่ออาจารย์เรียนจบการศึกษาในจังหวัด จึงได้มีโอกาสมา

5.ฝึกงานในร้านขายยา เป็นร้านขายส่งที่เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ชื่อ "กวงเตี่ยง" กทม.
เพื่อเรียนรู้ทักษะ การขายยาในเมืองหลวง  และทำความคุ้นเคยกับผู้ขายส่งยาสำเร็จรูป
และเมื่อเรียนจบชั้นเตรียมอุดมศึกษา ที่ รร.อำนวยศิลป์ และสอบเข้ามหาวิทยาบัยธรรมศาสตร์
ได้เข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ เป็นเวลา 1 ปีกว่า แต่คณะนี้ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของอาชีพ
แพทย์แผนไทย ของตระกูล และไม่ตรงกับความต้องการของบิดา ประกอบกับกระทรวง
สาธารณะสุขต้องการให้ ร้านขายยาต้องมีใบประกอบโรคศิลป ให้เภสัชกรควบคุมการขายยา
แทนหมอตี๋ จึงได้ไป

6.เรียนต่อ เภสัชกรรม ที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 5 ปี สำเร็จการศึกษา
ที่มหาวิทยาลัย ชื่อ ซานโต โทมาส ของมิสชั่นนารี สเปน อายุ 200 กว่าปี โดยใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นสื่อการสอน ตั้งอยู่ในใจกลางกรุง มนิลา ศึกษาที่คณะเภสัชศาสตร์ (เลือกเอกวิชาเภสัชอุตสาหกรรม) และได้ฝึกงานการผลิตในโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน ชื่อ 
"ปาสกวนแลบบอราทอรี่" ในกรุงมนิลา เมื่อกลับมาได้สอบใบประกอบโรคศิลป 
เป็นที่น่าเสียดาย ที่ไม่ได้กลับไปช่วยบิดา ที่ตราดตามที่บิดาต้องการ แต่มาหาประสบการณ์ 

7.การทำงานที่ บริษัทผลิตยาแผนปัจจุบัน
คิดว่าจะทำงานสักประมาณ 2-3 ปี กัยบริษัทยาข้ามชาติเยอรมันนี แต่ความเป็นจริง กลับใช้เวลา
ไปประมาณ 30 ปี

8.ขณะนี้อาจารย์เลยต้องรีบทำงาน การแพทย์และยาแผนไทย เต็มกำลัง
เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปในการเรียนรู้ เทคนิคตะวันตก ตั้ง 30 ปี บริษัท ที่อาจารย์เข้าทำงาน
ชื่อ บริษัท เฮิกซ์ไทย จำกัด เป็นการชักชวนมาทำงานโดยเพื่อนที่เคยเรียนมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ ชื่อ คุณนพดล  ชวางกร และคุณไพศาล อักครพิพัฒกุล เป็นรองหัวหน้าแผนกบัญชี
แผนกขาย บริษัท เฮิกซ์ฟามาซูติคัลอินดัสตรีย์ จำกัด เป็นชื่อเป็นทางการของแผนกโรงงาน
ตั้งอยู่ที่ ธนบุรี ทำการผลิตยาแผนปัจจุบัน มีแผนกยาต่างๆ เช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำ
ยาขี้ผึ้ง เครื่องสำอาง ที่เข้มงวดที่สุด คือ ยาปราศจากเชื้อ คือ ยาฉีด มีแผนกหลัก คือ
หน่วยงานการผลิต และหน่วยวิเคราะห์ เป็นหลัก อาจารย์ทำงานในหน่วยงาน สายการผลิต
และควบคุมคนงานแผนกต่างๆ ประมาณ 120 คน มีเภสัชกร ในความควบคุม 5 คน
หัวหน้างาน 12 คน ที่เหลือเป็นพนักงานขั้นปฏิบัติการ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อหลัก
ภาษาเยอรมัน เป็นภาษาตำรา ที่ใช้ในเอกสารอ้างอิง จากบริษัทแม่ ทำงานที่เดียว
เป็นเวลานาน 30 ปี ในตำแหน่งสุดท้าย รองผู้จัดการโรงงาน งานแรก คือ การควบคุมพนักงาน
แผนกบรรจุภัณฑ์ มีพนักงานมากที่สุดในโรงงาน ในระหว่างทำงาน ได้มีโอกาสฝึกงานใน
ต่างประเทศ หลายครั้ง ที่ดรงงานในเครือบริษัทเดียวกัน ณ. ประเทศเยอรมันนี
การใช้แม่พิมพ์ทองเหลือง การเตรียมตัวยาก่อนผสม เช่น
การสะตุตัวยา เช่น สารส้มสะตุชะมดเช็ดจากการเลี้ยว
ชะมดจริงๆ เป็นต้น

ย้อนกลับ โปรดติดตาม....คุณูปการ ตอน กว่าจะมาเป็น.... มาลาบูกิ

แหล่งข้อมูล : คัดลอกจาก นสพ. บางกอกทูเดย์ วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551
บทสัมภาษณ์ CEO Bangkok Today

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

เภสัชศาสตร์แผนไทย

ต่อจาก อยู่กับยา มา 60 ปี กว่า.. และ กว่าจะมาเป็น มาลาบูกิ ได้

เภสัชศาสตร์แผนไทย
หมอบ้าน หมอยา หมอชาวบ้าน แล้วแต่จะเรียกขานกัน

ประเด็นสำคัญ คือ เราต้องให้ความสำคัญกับ “เทคโนโลยี” การผลิตปัจจุบันด้วยว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว พืชพันธุ์ไม้สมุนไพรในบ้านเรามีมากที่สุดในโลกอยู่แล้ว
ดังนั้น เราต้องรีบค้นคว้า วิจัย และนำมาใช้ประโยชนให้ได้
ปัญหาของเราในตอนนี้ คือ คนไทยมักคิดว่า ของที่ผลิตในไทยมันหาง่าย
วัตถุดิบมีให้เห็นมากมาย

ดังนั้น คนจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือสนใจซึ่งเรื่องที่กล่าวมาเป็นเรื่องของ “ค่านิยม”
ต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยอมรับว่าตอนนี้ “ดีขึ้น” กว่าแต่ก่อน แล้วก็เทคโนโลยีการผลิต
รวมถึงการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็เป็นที่ยอมรับของต่างชาติมากแล้วเช่น เราเป็นครัวโลก เป็นแหล่งสมุนไพรที่ดีที่สุด เป็นต้นกำเนิดสปา การใช้กลิ่น การประคบ การรักษาแบบแผนไทย การนวดแผนไทย ซึ่งมี “ชื่อเสียง” เป็นที่นิยมไปทั่วโลก

ดังนั้น เราจึงต้องเร่งต่อยอด “ภูมิปัญญาเดิม” และความได้เปรียบตรงนี้
ผนวกกับองค์ความรู้ใหม่ๆ จึงจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดแก่คนไทย
และต่างชาติให้เกิดความยอมรับ “อย่าไปคิดว่ามันไม่ดี สู้ของต่างประเทศไม่ได้” ข้อเท็จจริงแต่ก่อน ที่ว่าของดีต้องนำเข้า วัตถุดิบต้องสั่งจากนอกอย่างเดียว
จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่แค่นั้น ที่มันต้อง แพง ราคาแพง ไม่ใช่เพราะวัตถุดิบนำเข้า
จากต่างประเทศ มันอยู่ที่กระบวนการและขั้นตอนการผลิต ด้วย
สุดท้าย ท่านอาจารย์ “ปัญญา” ก็อยากฝากข้อคิดด้วยความเป็นห่วง และอยากฝากให้คนรุ่นใหม่
หรือผู้ที่ กำลังจะก้าวเข้าสู่แวดวงการผลิต สมุนไพรไทย และการแพทย์แผนไทยว่า

“การที่เราถูกต่างชาติลักลอบหรือจ้างคนไทยนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของเราไปให้เขา ทั้งตั้งใจ รู้ทั้งรู้
หรือรู้ ไม่เท่าทันก็ตาม โดยปกติเขาก็มีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มากกว่าเราอยู่แล้ว เขาทำแล้วก็เอาไป จดสิทธิบัตรเป็นของเขาก่อนเรา
พอเราจะทำบ้างก็กลายเป็นไปละเมิดเขา ทำไม่ได้ น่าเสียดายและเจ็บใจอีกต่างหาก”

ดังนั้น เราคนไทยต้องเร่งปลุกจิตสำนึกตรงนี้ให้มากๆ ต้อง “หวงแหน” และเร่งสร้างบุคลากรทางด้านนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่เห็นมีใครออกมารณรงค์เรื่องสำคัญๆ อย่างนี้เลย
เรามักจะรู้ก็ต่อเมื่อมันเป็น“ข่าวใหญ่” แล้วทุกที คือ แก้ไขอะไรไม่ค่อยทันแล้ว
เป็นของเขาไปแล้ว เสียของอย่างดีไปแล้ว

<<< ย้อนกลับ ติดตามผู้มีคุณูปการ ต่อ...
ดูเอกสารอ้างอิง ที่ A16-17 080813.indd 16 10/8/08 7:54:17 PM

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552








ข้อมูลการแพทย์แผนไทย

รักษาดีซ่านด้วยยาแผนโบราณ

เมื่อได้ฟังอาการต่าง ๆ แล้ว ผมก็สันนิษฐาน ตามที่รู้มาว่าเขาน่าจะเป็นโรคดีซ่าน และนึกถึงตำรายาที่ได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงได้ต้มยาให้เขากินประมาณ 5-6 วัน อาการป่วยดีขึ้นมาก และกินติดต่อกันประมาณ 1 เดือน อาการก็หายเป็นปกติ
นี่แหละครับประสบการณ์การรักษาด้วยยาแผนโบราณของผม ผมจึงขอส่งตำรายามาให้ “หมอชาวบ้าน” เพื่อพิจารณา และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่นต่อไป
ตำรายามีดังนี้
ขนานที่ 1
โม่ง เถาคัน ย่านส้มออบ แกลบข้าวกล้อง เหมงผลา รากย่านนาง ต้นสามเดือนดอกแดง ต้นสามเดือนดอกขาว หัวสัปรด 2 แว่น สารส้มหนัก 2 สลึง เครื่องทั้งหมดเอาเท่ากัน

ขนานที่ 2
รากแฝก หอม จันทร์แดง จันทร์ขาว ลูกสมอเทศ ลูกสมอดีงู ลูกสมอพิเภก แก่นหาด แก่นแสมสาร แก่นขี้เหล็ก แก่นสนเทศ ลูกตูมอ่อน ลูกกระดอม 5 ลูก บริเพชร 5 องคุลี เทียนทั้ง 5 โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐก้านมะพร้าว ก้านเสดา รากขัดมอน รากขี้กาแดง ย่านพังโหม ยาดี 2 บาท ผักราชพฤกษ์ 4 ผัก (ตับ) เครื่องยาทั้งหมดเอาเท่ากัน

ชวน เขียนสุวรรณ์
ตามที่คุณชวน เขียนสุวรรณ์ เขียนเล่าประสบการณ์การรักษาเพื่อนบ้านมายังสำนักงาน “หมอชาวบ้าน” ได้ให้ผมช่วยตรวจสอบและพิจารณาสรรพคุณของยาดังกล่าว ดังนี้คือ
ตำรายาขนานที่ 1
1. โม่งเถาคัน สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้กระษัย ทำให้เส้นหย่อน ฟอกเลือด ขับลม แก้ฟกช้ำภายใน
2. ย่านส้มออบ ที่จริงส้มกบ สรรพคุณ กัดเสมหะ ล้างเมือกมันในลำไส้ ขับโลหิต ระดูสตรี
3. แกลบข้าวกล้อง สรรพคุณ ฟอกโลหิต
4. เหมงผลา (ตรีผลา) สรรพคุณ ระบายอ่อน บำรุงน้ำดี
5. รากย่านนาง สรรพคุณ แก้ไข แก้พิษร้อนภายในร่างกาย
6. ต้นสามเดือนดอกแดง (บานไม่รู้โรยดอกแดง) สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้กามโรค แก้อักเสบภายใน
7. ต้นสามเดือนดอกขาว (บานไม่รู้โรยดอกขาว) สรรพคุณ อย่างเดียวกับดอกแดง
8. หัวสัปรด สรรพคุณ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ
9. สารส้ม สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้สตรีตกขาว
เครื่องยาทั้งหมดเท่ากัน คือ น้ำหนักเท่า ๆ กัน ยกเว้นสารส้ม หนัก 2 สลึง เท่ากับ 7.5 กรัม และหัวสัปรดหั่น 2 แว่น ต้มรับประทานน้ำ
สรุป แล้ว มีสรรพคุณ ขับปัสสาวะและระบายพิษออกทางปัสสาวะ มีผลแก้อักเสบภายในได้ และขับปัสสาวะบ่อย ๆ มีผลแก้ดีซ่านได้เล็กน้อย คือขับพิษตัวเหลือง ตาเหลืองออกทางปัสสาวะนั่นเอง

ตำรายาขนานที่สอง
1. รากแฝกหอม สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ ลมแน่นในท้อง ปวดท้อง จุดเสียด ท้องอืด แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
2. แก่นจันทร์แดง สรรพคุณ บำรุงตับ แก้ร้อนภายใน
3. แก่นจันทร์ขาว สรรพคุณ บำรุงตับ แก้ร้อนภายใน
4. ลูกสมอเทศ สรรพคุณ ระบายท้อง
5. ลูกสมอดีงู สรรพคุณ เป็นยาถ่าย ขับโลหิตระดูสตรี
6. ลูกสมอพิเภก สรรพคุณ ระบายท้อง บำรุงน้ำดี
7. แก่นหาดที่จริงแก่นมหาด สรรพคุณ กระจายเลือด แก้ลมในท้อง แก้กระษัย ระบายอุจจาระ
8. แก่นแสมสาร สรรพคุณ แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ระบาย
9. รากขี้กาแดง สรรพคุณ บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ถ่ายล้างโทษ
10. แก่นขี้เหล็ก สรรพคุณ แก้กระษัย แก้เหน็บชา ถ่ายพิษภายใจ
11. แก่นสนเทศ สรรพคุณ แก้เสมหะ ขับลม ทำให้สดชื่น
12. ลูกมะตูมอ่อน สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้จุดเสียด ขับลม
13. ลูกกระดอม สรรพคุณ บำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้ร้อนใน บำรุงตับ
14. บอระเพ็ด สรรพคุณ บำรุงน้ำดี แก้พิษร้อนภายใน
15. เทียนทั้ง 5 สรรพคุณ บำรุงธาติ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ขับลม บำรุงตับ
16. โกฐเขมา สรรพคุณ แก้จุกเสียด.
17. โกฐพุงปลา สรรพคุณ แก้ท้องเสีย
18. โกฐก้านพร้าว สรรพคุณ แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้ร้อนใน
19. ก้านสะเดา สรรพคุณ แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้พิษร้อนภายใน
20. รากขัดมอน สรรพคุณ แก้ไข้ แก้พิษร้อนภายใจ แก้น้ำดีซ่าน แก้อาเจียน
21. ย่านพังโหม สรรพคุณ แก้ดีรั่ว แก้ธาตุพิการ ขับพยาธิ
22. ยาดำ สรรพคุณ เป็นยาถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษภายใน
23. ฝักราชพฤกษ์ 4 ฝัก สรรพคุณ ระบายอุจจาระ ระบายพิษไข้
น้ำหนักตัวยาหนักเท่า ๆ กัน ยกเว้น ลูกกระดอม บอระเพ็ด ยาดำ ฝักราชพฤกษ์ ตามจำนวนดังกล่าวนั้น ต้มรับประทาน
สรุปสรรพคุณ แก้อาการของดีซ่าน ขับปัสสาวะ ระบายน้ำดีซ่านได้ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ บำรุงตับ แก้ปากขม กินอาหารขมได้

และตามที่ผมได้วินิจฉัยตัวยาแต่ละตัวดังกล่าวมานี้ ยา 2 ตำรับ ตำรับที่ 2 คงจะมีสรรพคุณดีกว่า
ขนานแรก .
ผมเป็นผู้หนึ่งที่มีเลือดเนื้อสืบเนื่องมาจาก บรรพบุรุษที่เป็นหมอแผนโบราณ เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ช่วยเหลือผู้ป่วยคนหนึ่งที่เป็นโรคดีซ่าน ซึ่งอาการค่อนข้างจะรุนแรงมาก เที่ยวได้รักษาเกือบจะทุกแห่งแล้ว หมดเงินทองไปเป็นจำนวนมากก็ไม่หาย เขาเล่าอาการให้ฟังว่า ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลียไม่มีแรงทำงาน แม้กระทั่งเดิน ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลือง ปากขม กินอาหารก็ขม