ให้การสนับสนุน

มาลาบูกิ เป็นผู้สนับสนุนหลัก เครือข่ายลูกหนี้ 4 ภาค

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อยู่กับยา มา 60 ปี กว่า..


ตอนที่ 1 ตามด้วย กว่าจะมาเป็น มาลาบูกิ ได้ , เภสัชศาสตร์แผนไทย

ภูมิปัญญาดีทอกซ์-ไทย
โดย ภก.ปัญญา ปวงนิยม
ตอน อยู่กับยามา หกสิบปี กว่า...



■ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2485 ที่จังหวัด
ตราด เป็นบุตรคนที่สองในจำนวนพี่น้อง
11 คน บิดาเป็นหมอโบราณ ชื่อ “หมอเกียง ปวงนิยม” มี
ใบประกอบโรคศิลป สาขาเภสัชและเวชกรรม แผนไทย
บิดาดำเนินกิจการ ขายยา มีร้านค้า ชื่อ “กันเอง
พานิช” มีสถานที่ ผลิตยา ชื่อ “กันเองโอสถ” และใช้
สถานที่เดียวกัน เป็นสถานที่ปรึกษา และรักษาคนไข้
มีตั้งแต่เด็กเล็ก จนถึงผู้ใหญ่
ที่ตั้งของร้านอยู่ในท้องที่ๆ เป็นศูนย์กลางการ
คมนาคมทางน้ำของจังหวัด ที่ท่าเรือจ้าง อำเภอเมือง
จังหวัดตราด สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการค้าขาย
ของจังหวัด มีผู้คนจากอำเภอต่างๆ มาซื้อขายสินค้า
มากมาย และมีเรือสินค้าจากต่างถิ่น เช่น กรุงเทพฯ
เขมร เวียดนาม
ที่ร้านจึงเป็นที่รับซื้อแลกเปลี่ยนเภสัชวัตถุ
สมุนไพร จากป่า เช่น ไม้หอม เทพทาโร ลูกเร่ว
ลูกสำรอง พริกไทย ดีปลี รงทองจากเขมร น้ำมันยาง
โครงกระดูกจากสัตว์ เช่น เสือ หมี กวาง จากชนบท เป็นต้น
บิดา ได้ปรุงยาออกจำหน่ายหลายขนาน ประมาณ 20 ตำรับ
เช่น 1.กลุ่มยาแก้ไขเด็กเล็ก ยาแก้ซางหละ ยากวาดคอเด็ก
ชื่อ ยากวาดคอแสงหมึก, ยาทำลายพิษ ยามหานินแท่งทอง
ยาประสะกระเพา เป็นต้น
2.กลุ่มยาสตรี แก้โรคประจำเดือนไม่ปกติ ชื่อ ยาสตรีฑีฆายุ
ยาเลือดงาม เป็นต้น
3.กลุ่มยา อายุวัฒนะ ชื่อยา พิฆาตโรคา เป็นยาจยันประจำยุกต์
ยาที่จำหน่ายได้มาก คือ
4.กลุ่มยารักษา ริดสีดวง ยาโรยแกง ใช้โรยยาลงในอาหาร
แทนเครื่องแกงแต่แฝงเป็นยา ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร
เมื่อถ่ายอุจจาระ จะมีเลือดออก ช่วยให้หัวริดสีดวงเหียวแห้ง
หดหายไปอย่าง ชะงัก เลือดหยุด หัวริดสีดวงยุบ และต่อมา
ได้พัฒนาเป็นชนิดเม็ด ปัจจุบันเป็นยาแคปซูล ใช้ชื่อว่า
"ยาเรซิดังส์" "ยาโรซิดวง" และยาบรรเทาริดสีดวงตราช้างสองเศียร
5.กลุ่มยาแก้เส้นสายหย่อนพิการ ชื่อยา ยากระจายเส้น เหมาะสำหรับ
ผู้สูงวัย และอุบัติเหตุ เคล็ดขัดยอก ยาทั้งหมดที่ผลิตได้ขึ้นทะเบียน
ไว้ทั้งหมดกับกระทรวงสาธารณะสุข

ข้อสังเกตุ  การตั้งชื่อยาแผนไทย สามารถตั้งชื่อตามตำราคัมภีร์แผนไทยได้
แต่ต่อมาไม่ให้ตั้งตามคัมภีร์ แผนไทยแล้ว แต่อ้างว่า ใช้ชื่ออวดอ้างสรรพคุณ
และเป็นที่มาของภาษาวิบัติ ทำให้ยาแผนไทยต้องเปลี่ยนชื่อ เป็นภาษาแปลกๆ
แทนที่จะอนุรักษ์ไว้ และการเขียนสรรพคุณก็ไม่สามารถ ระบุได้ เป็นการจำกัดการใช้ยา
ทำให้ยาแผนไทย ถูกตอนการพัฒนาการใช้ยาโดยปริยาย

นอกจากนี้ พี่น้องของอาจารย์ได้มีโอกาส

1.ได้ฝึกเป็นผู้ช่วยหมอ และเทคนิคการขายยา
โดยเฉพาะอาจารย์ปัญญา ซึ่งมีความสนใจกิจการการประกอบโรคศิลปะ มาตั้งแต่เด็ก
ช่วยบิดาตั้งแต่อายุ 12 ขวบ โดยเป็นผู้ช่วยบิดาเตรียมยามาชั่ง
มีใบ แก่น ดอก ราก ผล นอกจากนี้ ยังมีโอกาส

2.ฝึกแปรสภาพของสมุนไพร จากก้อนให้เป็นผง โดยใช้อุปกรณ์ ราง ล้อเหล็ก
และเสาไม้ยึดติดกับล้อเหล็กด้านล่าง ด้านบนใช้ น๊อต ร้อยกับเสากับตงของเพดาน
โดยมีไม้ขนาบกับเสา (ที่ยึดติดกับกึ่งกลางเสา) ใช้แรงงานคน 1 คน
ดันเสาที่มีล้อไปมา เพื่อให้น้ำหนักเสากดลงก้อนสมุนไพร และ
ใช้แรงงาน อีก 1 คน ช่วยเขี่ยก้อนยาให้ล้อบดทับ ทั่วถึงจนละเอียด
แล้วนำผงที่บดได้มาร่อน ผ่านตะแกงที่เป็นตาข่ายชนิดละเอียด
ที่หยาบก็เอามาบดใหม่ ที่ละเอียดก็เก็บสะสมจนหมดครั้งที่ผลิต
(ก่อนบดยา ต้องตากกลางแดดหลายแดดจนกรอบ หน้านต้องเอาไปคั่ว
จนกรอบแห้ง)

3. ฝึกการผลิตยาเม็ด โดยใช้แม่พิมพ์ทองเหลือง กดบนก้อนผงยาที่ผสมน้ำซาวข้าวเจ้าสุก
จับตัวเป็นก้อนเปียกพอเหมาะ และตำรวมกันเป็นก้อนใหญ่ ก้อนเดียว มีผ้าขาวบาง ปิดก้อนยา
ไว้กับก้อนยาแห้ง เมื่ออัดเข้ากับแม่พิมพ์ไปมาจนแน่นเบ้า และดันคันอัดออก
ใส่ถาด สะสมจนเต็มถาดหลวมๆ นำถาดไปผึ่งแดด 2-3 แดด จนแห้ง นอกจากนี้ยังได้

4.ฝึกการเตรียมตัวยาก่อนผสม การสตุ ตัวยา เช่น การสตุสารส้ม (การทำให้ตัวยาบริสุทธิ
โดยใช้ฝาหม้อดินรองรับแล้วใช้ ความร้อนจากเตาถ่านรน) การเก็บกลิ่น ชะมดเช็ด
จากการเลี้ยงสัตว์ เป็นตัวชะมดจริงๆ เพื่อนำมาทำยาหอมแก้ลม เป็นต้น
เมื่ออาจารย์เรียนจบการศึกษาในจังหวัด จึงได้มีโอกาสมา

5.ฝึกงานในร้านขายยา เป็นร้านขายส่งที่เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ชื่อ "กวงเตี่ยง" กทม.
เพื่อเรียนรู้ทักษะ การขายยาในเมืองหลวง  และทำความคุ้นเคยกับผู้ขายส่งยาสำเร็จรูป
และเมื่อเรียนจบชั้นเตรียมอุดมศึกษา ที่ รร.อำนวยศิลป์ และสอบเข้ามหาวิทยาบัยธรรมศาสตร์
ได้เข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ เป็นเวลา 1 ปีกว่า แต่คณะนี้ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของอาชีพ
แพทย์แผนไทย ของตระกูล และไม่ตรงกับความต้องการของบิดา ประกอบกับกระทรวง
สาธารณะสุขต้องการให้ ร้านขายยาต้องมีใบประกอบโรคศิลป ให้เภสัชกรควบคุมการขายยา
แทนหมอตี๋ จึงได้ไป

6.เรียนต่อ เภสัชกรรม ที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 5 ปี สำเร็จการศึกษา
ที่มหาวิทยาลัย ชื่อ ซานโต โทมาส ของมิสชั่นนารี สเปน อายุ 200 กว่าปี โดยใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นสื่อการสอน ตั้งอยู่ในใจกลางกรุง มนิลา ศึกษาที่คณะเภสัชศาสตร์ (เลือกเอกวิชาเภสัชอุตสาหกรรม) และได้ฝึกงานการผลิตในโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน ชื่อ 
"ปาสกวนแลบบอราทอรี่" ในกรุงมนิลา เมื่อกลับมาได้สอบใบประกอบโรคศิลป 
เป็นที่น่าเสียดาย ที่ไม่ได้กลับไปช่วยบิดา ที่ตราดตามที่บิดาต้องการ แต่มาหาประสบการณ์ 

7.การทำงานที่ บริษัทผลิตยาแผนปัจจุบัน
คิดว่าจะทำงานสักประมาณ 2-3 ปี กัยบริษัทยาข้ามชาติเยอรมันนี แต่ความเป็นจริง กลับใช้เวลา
ไปประมาณ 30 ปี

8.ขณะนี้อาจารย์เลยต้องรีบทำงาน การแพทย์และยาแผนไทย เต็มกำลัง
เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปในการเรียนรู้ เทคนิคตะวันตก ตั้ง 30 ปี บริษัท ที่อาจารย์เข้าทำงาน
ชื่อ บริษัท เฮิกซ์ไทย จำกัด เป็นการชักชวนมาทำงานโดยเพื่อนที่เคยเรียนมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ ชื่อ คุณนพดล  ชวางกร และคุณไพศาล อักครพิพัฒกุล เป็นรองหัวหน้าแผนกบัญชี
แผนกขาย บริษัท เฮิกซ์ฟามาซูติคัลอินดัสตรีย์ จำกัด เป็นชื่อเป็นทางการของแผนกโรงงาน
ตั้งอยู่ที่ ธนบุรี ทำการผลิตยาแผนปัจจุบัน มีแผนกยาต่างๆ เช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำ
ยาขี้ผึ้ง เครื่องสำอาง ที่เข้มงวดที่สุด คือ ยาปราศจากเชื้อ คือ ยาฉีด มีแผนกหลัก คือ
หน่วยงานการผลิต และหน่วยวิเคราะห์ เป็นหลัก อาจารย์ทำงานในหน่วยงาน สายการผลิต
และควบคุมคนงานแผนกต่างๆ ประมาณ 120 คน มีเภสัชกร ในความควบคุม 5 คน
หัวหน้างาน 12 คน ที่เหลือเป็นพนักงานขั้นปฏิบัติการ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อหลัก
ภาษาเยอรมัน เป็นภาษาตำรา ที่ใช้ในเอกสารอ้างอิง จากบริษัทแม่ ทำงานที่เดียว
เป็นเวลานาน 30 ปี ในตำแหน่งสุดท้าย รองผู้จัดการโรงงาน งานแรก คือ การควบคุมพนักงาน
แผนกบรรจุภัณฑ์ มีพนักงานมากที่สุดในโรงงาน ในระหว่างทำงาน ได้มีโอกาสฝึกงานใน
ต่างประเทศ หลายครั้ง ที่ดรงงานในเครือบริษัทเดียวกัน ณ. ประเทศเยอรมันนี
การใช้แม่พิมพ์ทองเหลือง การเตรียมตัวยาก่อนผสม เช่น
การสะตุตัวยา เช่น สารส้มสะตุชะมดเช็ดจากการเลี้ยว
ชะมดจริงๆ เป็นต้น

ย้อนกลับ โปรดติดตาม....คุณูปการ ตอน กว่าจะมาเป็น.... มาลาบูกิ

แหล่งข้อมูล : คัดลอกจาก นสพ. บางกอกทูเดย์ วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551
บทสัมภาษณ์ CEO Bangkok Today

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น