ให้การสนับสนุน

มาลาบูกิ เป็นผู้สนับสนุนหลัก เครือข่ายลูกหนี้ 4 ภาค

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กว่าจะมาเป็น มาลาบูกิ ได้

บุคคลสำคัญ ที่ประสิทธิประสาท ความรู้ และจุดประกายความฝัน
กลายมาเป็น แบรนด์ ไทย ไปนอกได้ ในปัจจุบัน
ท่านแรก อาจารย์ปัญญา ปวงนิยม

คัดลอกจาก นสพ. บางกอกทูเดย์ วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551
บทสัมภาษณ์ CEO Bangkok Today

ต่อจาก อยู่กับยา มา 60 ปี กว่า.. ตามด้วย เภสัชศาสตร์แผนไทย

ภูมิปัญญาดีทอกซ์-ไทย
โดย ภก.ปัญญา ปวงนิยม



เป็นเรื่องที่พวกเราไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเห็นกันบ่อยนักในสังคมไทยปัจจุบัน
สำหรับคนๆ หนึ่งที่มีความชอบ สนใจ และคลุกคลีอยู่กับ “การแพทย์แผนไทย”
นับเวลารวมกว่า 50 ปี

ซึ่งบุคคลที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ คือ “ภก.ปัญญา ปวงนิยม” ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดัน
มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ (จีเอ็มพี) รวมทั้งผู้ผลิตเครื่องสำอาง ด้วย
อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร
หน่วยปฏิบัติการที่ 1 โรงงานต้นแบบศูนย์เทคโนโลยี ชีวภาพ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

โดยวันนี้ท่านได้เสียสละเวลามาพูดคุยถึงเรื่อง “การแพทย์แผนไทย” เพื่อเป็นกำลัง
ใจให้กับพวกเราคนรุ่นหลังที่รัก สนใจ และกำลังศึกษาหาความรู้ หรือมุ่งมั่นที่จะทำงาน
ด้านเภสัชศาสตร์แผนไทย
ย้อนกลับไปเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว “ภก.ปัญญา” เริ่มมีความสนใจในกิจการการประกอบ
“โรคศิลปะ” ของบิดา ตอนนั้นท่านมีอายุประมาณ 12 ปี เป็นผู้ช่วยบิดาเตรียมยามาชั่ง มีใบ
แก่น ดอก ราก ผล ซึ่งไม่มีความผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย จนเมื่อเรียนจบก็ได้ไปศึกษาต่อ
ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในคณะเภสัชศาสตร์ (เอกวิชา เภสัชอุตสาหกรรม) เป็นเวลา 5 ปี
แล้วก็ได้เข้าทำงานในบริษัท เฮิกส์ฟามาซูติกัลอินดรัสตรีย์ จำกัด บริษัทยาข้ามชาติเยอรมนี
ซึ่งตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ได้คลุกคลีอยู่กับโรงงานผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยา ทั้งยาแผนปัจจุบันและ
ยาแผนไทย รวมถึงอุตสาหกรรมด้านเครื่องสำอาง มาจนถึงปัจจุบัน
เรียกว่าเป็น “กูรู” ด้านนี้เลยทีเดียว

จากประสบการณ์และการศึกษามาตลอด 50 กว่าปี ถือได้ว่าองค์ความรู้ของท่านอาจารย์
ได้มีส่วนช่วยให้วงการเภสัชศาสตร์แผนไทย ตลอดจนการแพทย์แผนไทย ได้รับประโยชน์อย่าง
มากมาย อีกทั้งยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
โดยท่านอาจารย์ได้จำแนกสรุปไว้เป็นสาขาต่างๆ สำหรับผู้สนใจ ไว้ดังนี้

1. เทคนิคการผลิตยาแผนปัจจุบัน
2. เทคนิคการผลิตยาแผนไทย
3. เทคนิคการผลิตเครื่องสำอาง
4. เทคนิคการผลิตอาหาร
5. ออกแบบโรงงานยา อาหาร ตามหลัก จีเอ็มพี
6. การบริหารงานในโรงงานสายการผลิต
7. เขียนหนังสือ จีเอ็มพี ให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการขอขึ้นทะเบียน จีเอ็มพี
8. การพัฒนาตำรับยา
9. ออกแบบเครื่องจักรรองรับสายการผลิต

ถึงตอนนี้หลายคนยังสงสัยว่า “จีเอ็มพี” คืออะไร?!!
ซึ่งท่านอาจารย์ก็ให้คำตอบว่า “จีเอ็มพี” ที่ว่านี้ คือ มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมด้าน ต่างๆ
เช่น โรงงานเครื่องสำอาง ในความดูแลของ อย. ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของกระบวนการ
และเครื่องจักรการผลิตเครื่องสำอาง หรือที่เรียกกันว่าโรงงานที่มีจีเอ็มพีนั่นเอง

สำหรับงานที่ท่านอาจารย์กำลังศึกษาค้นคว้าและวิจัยอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้
ก็เป็นแบบทั้งที่ปรึกษาโครงการหรือเป็นแบบทำวิจัยต่อยอดให้กับหน่วยงานต่างๆ
นอกจากงานเกี่ยวกับ “สมุนไพร” และ สารสกัดจากพืชสมุนไพร ที่ช่วยใน ด้านสุขภาพ แล้ว
ท่านอาจารย์ “ปัญญา” ก็แอบแง้มมาด้วยว่า ตอนนี้ก็กำลังพัฒนางานทาง ด้านความงาม อีกด้วย

“อันไหนที่ทำเสร็จแล้วผมก็บอกได้อยู่ ไม่ได้เป็นความลับอะไร เช่น น้ำสกัดเข้มข้นจาก
มังคุด ตรา แซนโทน อันนี้ของผมเอง กันเองโอสถ หรือสารสกัดจากเซลล์แรกเริ่มของชมพู่
มะเหมี่ยวเผือก และสารสกัดที่จะนำมาใช้ผลิตภัณฑ์ความงามประเภทต่างๆ ที่ทำให้กับ
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชื่อ มาลาบูกิ อันนี้เป็นทั้งโครงการความร่วมมือกับห้องแล็บอื่นๆ
และรับผลิตต่อยอด ตามการครีเอตและแนวคิดหลักๆ”
อาจารย์ “ปัญญา” กล่าว

ท่านอาจารย์ยังบอกอีกว่า แต่ละโครงการย่อมต้องมีการคัดเลือกและคัดตามหลักเกณฑ์
อีกทีหนึ่ง เพราะตัวท่านต้องการ “พัฒนา” เกี่ยวกับด้านสมุนไพรไทยให้เป็นที่ยอมรับ
ทั้งใน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ซึ่งง่ายๆ เลยก็คือ ต้องเป็น “พืชพันธุ์”
ในเขตดินแดน “สุวรรณภูมิ” หรืออินโดจีน เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งของอาหารและสรรพยา
ดังเป็นที่ทราบดีของปราชญ์ทางการแพทย์และโภชนาการ กันมาแต่โบราณกาล
โดยเฉพาะของประเทศไทยเรา ที่มีพืชพันธุ์สมุนไพรอย่างอุดมสมบูรณ์
แต่ยังไม่มี การส่งเสริมและผลักดันอย่างจริงจัง

อย่าง มาลาบูกิ ก็เป็นของคนไทยเรานี่แหละ ไม่ใช่ชื่อแบรนด์ของต่างชาติอะไร ไทยแท้ๆ เลย ที่สำคัญ คือ เขามีแนวคิดริเริ่มและไปกันได้กับผม แล้วก็มีความน่าเป็นไปได้ในทาง
ปฏิบัติจริงอีกด้วย”
อาจารย์ “ปัญญา” กล่าว

<<< ย้อนกลับ ติดตามผู้มีคุณูปการ ต่อ... เภสัชศาสตร์แผนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น